เกี่ยวกับนิวคลีอิกแอซิด

ดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ: นิวคลีอิกแอซิดที่ช่วยสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรงตั้งแต่ระดับพันธุกรรม

ดีเอ็นเอ: ที่เก็บข้อมูลทางพันธุกรรม

ชีวิตของมนุษย์เริ่มต้นจากเซลล์เพียง 1 เซลล์ ที่บรรจุโครโมโซม 46 แท่งไว้ในนิวเคลียส โดยแบ่งเป็นโครโมโซมที่ได้รับจากพ่อ 23 แท่ง และที่ได้รับจากแม่ 23 แท่ง โครโมโซม 46 แท่งบรรจุคำสั่งทางพันธุกรรมเพื่อสร้างสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่ามนุษย์ โครโมโซมแต่ละแท่งคือโมเลกุลของดีเอ็นเอ (กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก) ซึ่งเป็นนิวคลีอิกแอซิดประเภทหนึ่งที่เกิดจากนิวคลีโอไทด์ 2 สายเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเป็นรูปทรงเกลียว นิวคลีโอไทด์แต่ละสายจะประกอบไปด้วยไนโตรจีนัสเบส น้ำตาลที่เรียกว่าดีออกซีไรโบส และหมู่ฟอสเฟต

ไนโตรจีนัสเบส 4 ประเภทที่ประกอบอยู่ในนิวคลีโอไทด์คือ กวานีน ไซโทซีน ไทมีน และอะดีนีน ไนโตรจีนัสเบสทั้ง 4 นี้รวมกันเกิดเป็นรหัสที่ไม่เหมือนกันเพื่อบรรจุยีนส์กว่า 20,000 ยีนส์ไว้ในดีเอ็นเอ 46 โมเลกุลที่อยู่ในนิวเคลียสของเซลล์แต่ละเซลล์ ยีนส์เหล่านี้บรรจุคำสั่งในการสร้างโปรตีนและส่วนประกอบอื่นๆที่เซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายต้องมีเพื่อทำหน้าที่ของตัวเอง

ด้วยกระบวนการแบ่งเซลล์ เมื่อมนุษย์เข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ร่างกายของพวกเขาจะมีเซลล์ 60 ล้านล้านเซลล์ ซึ่งทุกเซลล์มีข้อมูลทางพันธุกรรมเดียวกับเซลล์ตั้งต้น ตามปกติ ถ้าลำดับดีเอ็นเอยังคงสมบูรณ์อยู่ เซลล์ก็ยังสามารถทำงานและแบ่งตัวได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม ในช่วงชีวิตของเซลล์ ดีเอ็นเอมักจะได้รับความเสียหายเนื่องจากปัจจัยภายในและภายนอกมากมาย ตัวอย่างปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อดีเอ็นเอเช่น ภาวะเครียดที่เกิดจากออกซิเดชัน การรับรังสียูวี และการสัมผัสกับสารเคมีอันตราย ความเสียหายเหล่านี้อาจก่อให้เกิดความผิดพลาดในลำดับของไนโตรจีนัสเบส ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดโรคร้าย โชคดีที่เรามีกลไกในการซ่อมแซมดีเอ็นเอที่สามารถตรวจจับความผิดพลาดในลำดับของไนโตรจีนัสเบสและคืนลำดับให้กลับเป็นเหมือนเดิม

ทั้งการแบ่งเซลล์และกระบวนการซ่อมแซมดีเอ็นเอนั้นขึ้นอยู่กับการมีเสบียงนิวคลีโอไทด์ที่เพียงพอ การสร้างดีเอ็นเอใน 1 เซลล์ต้องใช้นิวคลีโอไทด์มากถึง 12,000 ล้านโมเลกุล

อาร์เอ็นเอ: มีความสำคัญต่อกระบวนการแสดงออกของยีน

นิวคลีอิกแอซิดอีกประเภทคืออาร์เอ็นเอ ซึ่งประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์เพียงสายเดียว และในนิวคลีโอไทด์ของอาร์เอ็นเอ น้ำตาลดีออกซีไรโบสถูกแทนที่ด้วยน้ำตาลไรโบส และเบสไนโตรจีนัสไทมีนก็แทนที่โดยยูเรซิล

อาร์เอ็นเอมีบทบาทสำคัญในการแปลงข้อมูลทางพันธุกรรมในดีเอ็นเอให้เป็นโปรตีนที่จำเป็นต่อการทำงานของเซลล์แต่ละเซลล์ ขั้นแรก สำเนาของยีนส์ที่มีคำสั่งในการสร้างโปรตีนที่จำเป็นนั้นสร้างมาจากเมสเซนเจอร์ ดีเอ็นเอ (เอ็มอาร์เอ็นเอ) ผ่านกระบวนการที่เรียกว่าการถอดรหัส สำเนาเอ็มอาร์เอ็นเอของคำสั่งทางพันธุกรรมนี้จะเดินทางอยู่ด้านนอกของนิวเคลียสของเซลล์และไปเชื่อมกับไรโบโซม ซึ่งบรรจุไรโบโซมอล อาร์เอ็นเอ (อาร์อาร์เอ็นเอ) และตามคำสั่งที่เข้ารหัสไว้ในเอ็มอาร์เอ็นเอ (กำหนดด้วยลำดับของไนโตรจีนัสเบสต่างๆ) กรออะมิโนที่จำเป็นจะถูกส่งไปยังไรโบโซมโดยอาร์เอ็นเอถ่ายโอน (ทีอาร์เอ็นเอ) อาร์เอ็นเอประเภทที่ 3 และกรดอะมิโนดังกล่าวจะเชื่อมต่อกันตามลำดับที่กำหนดไว้เพื่อสร้างโปรตีนที่ต้องการ

นอกเหนือจากบทบาทพื้นฐานของอาร์เอ็นเอในการแสดงออกของยีนและกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน ยังมีการยืนยันเมื่อไม่นานมานี้ว่า อาร์เอ็นเอประเภทอื่นๆที่รู้จักกันในชื่ออาร์เอ็นเอที่ไม่มีการแปลรหัส (ไมโครอาร์เอ็นเอ ฯลฯ) มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการแสดงออกของยีน

สรุปคือ นิวคลีอิกแอซิดทั้ง 2 ประเภท คือดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอนั้น มีอยู่ในเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายมนุษย์ ดีเอ็นเอเป็นพิมพ์เขียวทางพันธุกรรมที่ใช้สร้างโปรตีนและส่วนประกอบอื่นๆที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ส่วนอาร์เอ็นเอมีบทบาทสำคัญในการแสดงออกของยีน การสังเคราะห์โปรตีน และการควบคุมการแสดงออกของยีน

การรักษาเสบียงของนิวคลีโอไทด์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบในการสร้างดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ ให้อยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการใช้งานจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้มั่นใจว่าเซลล์จะสามารถทำหน้าที่ของมันได้อย่างเต็มที่

การสังเคราะห์และเสริมสารนิวคลีโอไทด์

เนื่องจากการแบ่งเซลล์ การซ่อมแซมดีเอ็นเอ และการแสดงออกของยีนเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอในช่วงชีวิตของมนุษย์ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมร่างกายจึงต้องการเสบียงนิวคลีโอไทด์ที่มั่นคง นอกเหนือจากการใช้นิวคลีโอไทด์ที่มีอยู่ซ้ำ โชคดีที่ร่างกายของมนุษย์นั้นสามารถสังเคราะห์นิวคลีโอไทด์ผ่านกระบวนการที่เรียกว่ากระบวนการสังเคราะห์ใหม่ กระบวนการนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ตับ

อีกสิ่งสำคัญที่ควรจำไว้ก็คือร่างกายสามารถรับนิวคลีโอไทด์จากการย่อยกรดนิวคลีอิกแอซิดที่อยู่ในอาหารที่เรารับประทานเข้าไป นิวคลีโอไทด์ที่มาจากการรับประทานอาหารกลายเป็นส่วนสำคัญ เนื่องจากความสามารถในการสังเคราะห์นิวคลีโอไทด์ของตับจะลดลงเรื่อยๆตามอายุของเรา น่าเสียดายที่การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยนิวคลีอิกแอซิดนั้นไม่ได้ทำได้ง่ายอย่างที่เคย เนื่องจากอาหารในปัจจุบันมักจะเป็นอาหารที่มีการปรุงแต่งสูงและไม่ค่อยมีส่วนประกอบของอาหารที่มีนิวคลีอิกแอซิดสูง

การรับประทานนิวคลีอิกแอซิดเสริมจึงเป็นหนึ่งหนทางในการช่วยเพิ่มปริมาณนิวคลีโอไทด์ในแต่ละวัน ซึ่งจะช่วยดูแลสุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป